วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

พระพุทธ

พระพุทธ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระพุทธ    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์[1] ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว อ่านเพิ่มเติม

พระธรรม

พระธรรม

     พระธรรม'[1] หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า "มุขปาฐะ" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ อ่านเพิ่มเติม

พระสงค์

พระสงค์

พระวินัยบัญญัติห้ามพระภิกษุสงฆ์รับหรือหยิบสิ่งของมาขบฉันเองโดยไม่มีผู้ประเคนให้ถูกต้องเสียก่อน
    การประเคนหมายถึงการมอบให้ด้วยความเคารพ ใช้ปฎิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น มีวินัยบัญญัติห้ามพระภิกษุสงฆ์รับ หรือหยิบสิ่งของมาขบฉันเอง โดยไม่มีผู้ประเคนให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อตัดปัญหาเรื่องการถวายแล้วหรือยังไม่ได้ถวาย จึงให้พระภิกษุสงฆ์รับของประเคนเท่านั้น  ยกเว้นน้ำเปล่าที่ไม่ผสมสี  เช่น  น้ำฝน  น้ำประปา เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่า สิ่งของนั้นๆ เป็นของจัดถวายพระภิกษุสงฆ์แน่นอน  โดยมีผู้ประเคนเป็นพยานรู้เห็นด้วยผู้หนึ่ง การประเคนของจึงเป็นการสนับสนุนให้พระภิกษุสงฆ์ปฎิบัติตามพระวินัยได้ถูกต้องอ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระสงฆ์

ศาสนากับสังคมไทย

     พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในทุก ๆ ด้าน จึงมีลักษณะที่เป็นสภาพที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย ซึ่งพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา ไว้อย่างครอบคลุมประเด็น พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้เพราะ การที่พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยได้มีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม